1. ประสูติ เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
2. ตรัสรู้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ (อริยสัจ ๔) หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่...
-
ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
-
สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
-
นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
-
มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
3. ปรินิพพาน เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
จากความสำคัญและโดดเด่นของพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาเดียวที่สร้างสันติภาพให้แก่ชาวโลกเสมอมา
การประกาศวันวิสาขบูชาให้เป็นวันหยุดสากล (International Recognition of the Day of Vesak) นั้น หมายถึงว่า จะได้เป็นวันหยุดที่สำคัญยิ่ง ของบรรดาประเทศสมาชิก ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด ๑๕๙ ประเทศ . ในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ได้ประกาศรับรองให้ วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดสากลขององค์การสหประชาชาติ โดยมีประเทศต่าง ๆ ทั้งที่นับถือพระ พุทธศาสนาและมิได้นับถือพระพุทธศาสนาต่างพากันให้การรับรองสนับสนุนอย่าง ท่วมท้น แม้แต่ทหารที่อยู่ในสมรภูมิสงคราม ก็ควรที่จะได้หยุดการเข่นฆ่า ทำลายล้างกันโดยการยึดหลักธรรม ๕ ประการ คือ
๑. การไม่เบียดเบียนเข่นฆ่าซึ่งกันและกัน
๒. การไม่ประพฤติตนเป็นคนทุจริตคดโกงต่อบุคคลอื่นและต่อประเทศชาติบ้านเมือง
๓. การไม่ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพและอธิปไตยของกันและกัน
๔. มีความจริงใจในสนธิสัญญาและสัจวาจาต่าง ๆ ที่เคยให้ไว้แก่กันและกัน
๕.ไม่หลงไหลมัวเมาดื่มเสพย์ในสิ่งเสพติดให้โทษทั้งหลาย
|